ลักษณะของเรือนเพาะชำในรูปแบบต่างๆ ที่ใช้และไม่ใช้แสลนกรองแสง

23

เรือนเพาะชำแบบไม้ระแนง (Lathhouse) เป็นโครงสร้างที่มีการพรางแสงหลังคา ให้สำหรับพืชที่ปลูกในกระถางหรือต้นที่ย้ายปลูกใหม่ที่ต้องการการเอาใจใส่มาก นิยมใช้ในพื้นที่ที่มีอากาศไม่หนาวจัด มักมีโครงสร้างเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความสูงอย่างน้อยประมาณ 3 เมตร หลังคานิยมใช้ไม้ระแนง 1×1 นิ้ว วางสลับอันเว้นอันหรือตามความต้องการในการพรางแสง อาจใช้วัสดุอื่นๆ ทำหลังคาก็ได้ เช่น แสลนกรองแสง ซึ่งเป็นวัสดุมีน้ำหนักเบา ติดตั้งได้ง่ายและราคาไม่แพง เป็นที่นิยมใช้กันอย่างมากในปัจจุบัน

เรือนเพาะชำแบบกระจก (Glasshouse) จำเป็นมากสำหรับในเขตที่มีอากาศหนาวเย็น จำเป็นต้องมีการปรับอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้ต้นพืชเติบโตผ่านฤดูหนาวไปได้ และนอกจากนั้นยังต้องสามารถปรับสภาวะต่างๆ ให้เหมาะสมได้ เช่น การระบายอากาศและความชื้น การให้ปุ๋ยไปพร้อมกับน้ำ การเพิ่มจำนวนชั่วโมงแสงต่อวัน การปรับความเข้มแสงของหลังคา การให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มและอื่นๆ สำหรับโครงสร้างโรงเรือนนั้นต้องมีความแข็งแรงสำหรับ รับน้ำหนักกระจกที่ใช้ทำหลังคาได้ ถึงแม้ว่าโรงกระจกจะใช้งานได้ดี แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง

เรือนเพาะชำพลาสติก (Plastichouse) เป็นโรงเรือนที่ใช้วัสดุพลาสติก polyethylene ทำหลังคา สำหรับป้องกันฝนและเพิ่มอุณหภูมิภายในได้บ้าง มีการใช้แพร่หลายมากขึ้นในการผลิตสินค้าทางเกษตรมากกว่าโรงกระจกถึง 3 เท่า โรงเรือนแบบนี้ใช้โครงสร้างน้ำหนักเบาแล้วคลุมด้วยพลาสติก จึงทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายน้อย สำหรับในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงต้องมีการระบายอากาศภายในโรงเรือน จึงจะช่วยลดอุณหภูมิภายในให้ต่ำลงได้ วัสดุที่ใช้ทำหลังคาสามารถใช้วัสดุต่างๆ ได้ เช่น โพลีคาร์บอเนต หรือ ไฟเบอร์กลาส

และยังมี ลักษณะเรือนเพาะชำแบบต่างๆ อีกมากมาย